Vitamin B 3 (Niacin) (Food grade) : วิตามินบี 3 (ไนอาซิน) (เกรดอาหาร)
/F096VB/F096VB-1KG-F-550x550.jpg)
/F096VB/F096VB-100G-F-550x550.jpg)
New
/F096VB/F096VB-1KG-F-80x80.jpg)
/F096VB/F096VB-100G-F-80x80.jpg)
Vitamin B 3 (Niacin) (Food grade) : วิตามินบี 3 (ไนอาซิน) (เกรดอาหาร)
฿179.00บาท
Tax Included ฿179.00บาท
- Model : F096VB
Available Options
F096VB Vitamin B 3 (Niacin) (Food Grade) : วิตามินบี 3 (ไนอาซิน) (เกรดอาหาร)
รายละเอียดทั่วไป
วิตามินบี 3 (ไนอะซิน, ไนอะซินาไมด์, กรดนิโคตินิก) (Niacin) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม (มก.หรือ
mg.) เป็นวิตามินที่มีความเสถียรมาก ทนต่อความร้อนจากการปรุงอาหารและการเก็บรักษาโดยสูญเสียประสิทธิภาพน้อยมาก ร่างกายของเรา
นั้นสามารถสร้างไนอะซินขึ้นเองได้โดยใช้กรดอะมิโนทริปโตเฟน สำหรับผู้ที่ร่างกายขาดวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 จะไม่สามารถ
สร้างวิตามินบี 3 จากทริปโตเฟนได้
** สำหรับคนทั่วไป ปริมาณที่แนะนำต่อวัน 12-14 มิลลิกรัม/วัน
** ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์หากรับระทานวิตามินบี 3 เกินวันละ 100 mg ขึ้นไป**
รายละเอียดผลิตภัณฑ์
การละลาย : ละลายได้ในน้ำอุณหภูมิสูง 80 องศาเซลเซียส ขึ้นไป
อัตราการละลาย : ละลายน้ำได้ไม่เกิน 1.6 กรัม/น้ำ 100 ml
ความปลอดภัย
โดยทั่วไปการทานวิตามินบี3 ค่อนข้างปลอดภัย
อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยในช่วงแรก เช่น ร้อนวูบวาบตามผิวหนัง ผิวแห้ง แดง ตามแขนขา และลำตัว ปวดศีรษะ ปวดท้อง อย่างไร
ก็ตามอาการเหล่านี้มักหายไปเองในเวลา 2-3 สัปดาห์ และ แอลกอฮอล์อาจ
ทำให้อาการข้างเคียงเหล่านี้เป็นมากขึ้นได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแอลกอฮอล์ปริมาณมากขณะรับประทานวิตามินบี3 เสริม
ไนอาซินขนาดสูง (เช่น เกิน 3 กรัมขึ้นไป) อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ แผลในกระเพาะอาหาร ระดับกรดยูริคในเลือดสูงขึ้น ระดับ
น้ำตาลสูงผิดปกติ การมองเห็นผิดปกติ หรือ หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ การรับประทานไนอาซินต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี อาจเพิ่มความเสี่ยงโรค
เบาหวานได้ไม่ควรทานไนอาซินเดี่ยวๆโดยไม่มีวิตามินบีรวมตัวอื่นๆร่วม เนื่องจากอาจทำให้ค่าโฮโมซิสเทอีนที่อาจสัมพันธ์กับความเสี่ยง
หลอดเลือดต่างๆเพิ่มขึ้นได้
ประโยชน์ของวิตามินบี 3
1.มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์
2.วิตามินบี 3 มีความจำเป็นต่อระบบประสาทและการทำงานของสมอง
3.ช่วยเผาผลาญไขมันและช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น บรรเทาปัญหาต่าง ๆ ของระบบย่อยอาหาร
4.วิตามินบี 3 ช่วยบำรุงผิวพรรณ
5.เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ลดความดันโลหิต
6.ช่วยเพิ่มพลังงานที่ได้จากการย่อยและเผาผลาญอาหาร
7.ช่วยบรรเทาอาการร้อนในและกลิ่นปาก
ข้อควรระมัดระวังในการทานไนอาซิน
ผู้ที่มีโรคต่อไปนี้ ควรระมัดระวังในการรับประทานไนอาซิน
- โรคหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
- ภูมิแพ้ เนื่องจากอาจทำให้สารก่อภูมิแพ้หลั่งมากขึ้นได้
- เบาหวาน เนื่องจากอาจทำให้ระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้นได้
- โรคถุงน้ำดี ไนอาซินอาจทำให้โรคเกี่ยวกับถุงน้ำดีแย่ลงได้
- เก๊าท์ ไนอาซินขนาดสูงอาจทำให้เสี่ยงเป็นเก๊าท์มากขึ้นได้
- โรคไต เนื่องจากคนที่เป็นโรคไตการขับส่วนเกินออกอาจทำได้ไม่ดี ทำให้เกิดการสะสมในร่างกาย ก่อให้เกิดอันตรายได้
- โรคตับ ไนอาซินอาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับได้ ไม่ควรใช้ขนาดสูงหากมีโรคตับอยู่
- แผลในกระเพาะอาหาร อาจทำให้แผลแย่ลงได้ ไม่ควรใช้ขนาดสูงหากมีแผลในกระเพาะอาหารอยู่
- ความดันต่ำ เนื่องจากไนอาซินอาจทำให้ความดันต่ำลงได้
- ไทรอยด์ต่ำ เนื่องจาก ไนอาซินอาจทำให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดต่ำลงได้
- ไขมันเกาะตามเส้นเอ็น (Xanthomas) เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อที่บริเวณที่มีไขมันเกาะตามเส้นเอ็นเหล่านี้ได้
ยาอะไร ที่ต้องระมัดระวังในการกินร่วมกัน
- ผู้ที่รับประทานยาหรือสารต่อไปนี้ ควรระมัดระวังในการใช้ไนอาซิน
- แอลกอฮอล์ เนื่องจากไนอาซินอาจทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบและคันตามผิวหนัง การกินไนอาซินร่วมด้วยอาจทำให้อาการเป็นมากขึ้น และยังอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการทำลายตับอีกด้วย
- ยาโรคที่ลดกรดยูริคในโรคเก๊าท์ Allopurinol ไนอาซินขนาดสูงอาจทำให้เก๊าท์เป็นมากขึ้น และอาจลดประสิทธิภาพของยาดังกล่าว
- ยาลดไขมันกลุ่ม statin เช่น simvastatin, atorvastatin (Lipitor), rosuvastatin (Crestor) เนื่องจากไนอาซินอาจมีผลต่อการสลายตัวของกล้ามเนื้อเช่นกัน การกินไนอาซินร่วมกับยาลดไขมันกลุ่มนี้อาจทำให้ความเสี่ยงต่อกล้ามเนื้อสลายตัวเพิ่มขึ้นได้
- ยาลดไขมันกลุ่ม resins เนื่องจากอาจทำให้ร่างกายดูดซึมไนอาซินได้ลดลง ควรรับประทานห่างจากกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง