สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล

        สำหรับผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือแม้แต่ผู้ที่ต้องการลดน้ำตาลในร่างกาย การเลือกใช้สารทดแทนความหวานถือเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ค่อนข้างปลอดภัยต่อสุขภาพค่ะ เพราะสารทดแทนความหวานนั้นให้พลังงานต่ำกว่าน้ำตาลหลายเท่าและในปัจจุบันนี้ก็ถูกพัฒนามาหลายชนิดให้เราเลือกใช้กัน แต่ถึงอย่างไรการใช้สารเหล่านี้ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ วันนี้เรามาดูกันว่าสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลนั้นมีกี่ประเภท และเราควรจะบริโภคอย่างไรให้ปลอดภัยกับร่างกาย




ประเภทของสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล

• สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลที่ไม่ให้พลังงาน สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลหรือเรียกอีกอย่างว่าน้ำตาลเทียม เช่น แอสปาแตม สตีวีโอไซด์ (หญ้าหวาน) ซูคราโลส

• สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลที่ให้พลังงงานต่ำ ส่วนมากสารในกลุ่มนี้จะเป็นจำพวกน้ำตาลแอลกอฮอล์ เช่น แมนนิทอล ไซลิทอล ซอร์บิทอล


9 สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลที่พบได้บ่อย

1. Saccharin

• แซคคารินหรือขัณฑสกร ถือเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลชนิดแรกๆ ที่ออกมา เนื่องจากเป็นสารให้ความหวานที่ทนต่ออุณหภูมิสูงจึงนิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารหลายประเภท เช่น ผลไม้แปรรูป แยม ขนมหวานและเครื่องดื่มต่างๆ


2. Sucralose

• ซูคาโลส ถือเป็นสารให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 600 เท่า ทนต่อความร้อนได้สูงถึง 200°C สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย รสชาติดี ไม่ขม โดยในปัจจุบันเราสามารถพบเจอซูคาโลสเป็นส่วนประกอบในอาหารมากมาย เช่น น้ำผลไม้กระป๋อง เครื่องดื่มบางชนิด ข้อดีคือเป็นสารให้ความหวานที่ร่างกายดูดซึมได้น้อย แต่ข้อเสียคือหากบริโภคมากเกินไปก็อาจเสี่ยงต่อภาวะฮอโมนไทรอยด์ต่ำได้


3. Acesulfame-K

• อะซีซัลเฟม-เค ให้ความหวานกว่าน้ำตาลปกติประมาณ 200 เท่า ซึ่งหากใช้ในปริมาณมากอาจทำให้มีรสชาติขมปลายและมีกลิ่นโลหะ เราสามารถพบอะซีซัลเฟม-เคได้บ่อยในเครื่องดื่มประเภท 0 แคล เครื่องดื่มผง กาแฟและชาสำเร็จรูป ข้อดีคือสามารถทนต่อความร้อนได้สูงและสามารถไปประกอบอาหารได้โดยไม่เสียสภาพ ไม่ให้พลังงานและละลายได้ในน้ำ สามารถใช้แทนที่น้ำตาลเพื่อลดปริมาณแคลอรีได้


4. Aspartame

• แอสพาร์แตม ถือเป็นสารให้ความหวานที่นิยมนำมาใช้มากที่สุด โดยลักษณะของสารชนิดนี้นั้นมีได้หลายหลายรูปแบบ ทั้งแบบผง แบบน้ำ หรือแบบแคปซูล สามารถให้ความหวานกว่าน้ำตาลถึง 200 เท่า แต่ข้อเสียของสารชนิดนี้คือไม่ทนต่อความร้อน ดังนั้นจึงไม่ควรนำไปประกอบอาหาร และนอกจากนี้หากใช้ในปริมาณมากยังอาจจะมีรสขมปลายติดมาด้วย


5. Stevia

• สตีเวียหรือหญ้าหวาน จัดเป็นสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลที่มาจากพืชค่ะ โดยมีความหวานกว่าน้ำตาลประมาณ 100 - 300 เท่า ทนต่อความร้อนและทนต่อความเป็นกรดด่างได้ดี มีความปลอดภัยสูงเนื่องจากเป็นสารที่มาจากธรรมชาติ ไม่มีแคลอรี่ 


6. Luo han guo 

• สารสกัดจากหล่อฮังก๊วยหรือน้ำตาลหล่อฮังก๊วย ถือเป็นสารทดแทนน้ำตาลอีกชนิดที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบันค่ะ โดยสารชนิดนี้ถือเป็นสารที่มาจากธรรมชาติ ให้ความหวานกว่าน้ำตาลประมาณ 150 - 300 เท่า ไม่มีแคลอรี่ มีการละลายน้ำที่ดี สามารถทนต่อความเป็นกรดด่างได้รวมถึงเมื่อบริโภคแล้วไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด


7. Sorbitol 

• ซอร์บิทอลถือเป็นสารให้ความหวานชนิดน้ำตาลแอลกอฮอล์ ซึ่งเรามักจะพบสารชนิดนี้ได้ในผลิตภัณฑ์ประเภท Sugar free ทั้งหลาย เช่น หมากฝรั่ง ลูกอม ให้ความหวานน้อยกว่าน้ำตาลประมาณครึ่งเท่า ให้พลังงาน 2.6 แคลอรี่ต่อกรัม เมื่อละลายตัวแล้วจะให้ความรู้สึกหวาน เย็นและซ่า ทนต่อกรดและความร้อนได้ดี ร่างกายดูดซึมได้ช้าจึงไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในลือดสูง


8. Cyclamate 

• ไซคลาเมต ให้ความหวานสัมพัทธ์ (relative sweetness) สูงกว่าน้ำตาลทราย (sucrose) 30-60 เท่า และไม่ให้พลังงาน ไซคลาเมตนิยมใช้ในอาหารประเภทต่างๆ เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ การใช้ที่ระดับความเข้มข้นสูงจะให้ความรู้สึกทางปาก


9. Xylitol

• Xylitol หรือ ไซลิทอล เป็นสารให้ความหวาน (sweetener) ซึ่งเป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์ (sugar alcohol) ใช้เป็นสารให้ ความหวานแทนน้ำตาล (sugar substitute) ในโครงสร้างโมเลกุลมีคาร์บอน 5 อะตอม ในธรรมชาติพบได้ในพืช ผัก ผลไม้ หลายชนิด เช่น สตรอเบอร์รี่